การออกแบบอาคาร

ในการออกแบบอาคาร ควรมีการวางมาตรการการป้องกันไฟต่างๆ ซึ่งอย่างน้อยควรประกอบด้วย

          1. โครงสร้างเป็น ค.ส.ล. มีอัตราการทนไฟได้ 3 – 4 ชั่วโมง

          2. ไม่ยอมให้มีช่องเปิดระหว่างชั้น ที่ไม่มีการเตรียมป้องกันไฟ

          3. การแบ่งเนื้อที่ในแต่ละชั้น ต้องทำการกั้นด้วยกำแพงกันไฟ และติดประตูกันไฟอัตโนมัติ

          4. ใช้ระบบไฟฟ้าอย่างดีถูกต้องตามหลักวิชา และกฎของการไฟฟ้าท้องถิ่น

          5. เนื้อที่อาคารทุกชั้น ควรติดระบบการฉีดโปรยน้ำอัตโนมัติ

          6. ติดระบบท่อยืนดับเพลิงพร้อมสายฉีด

          7. มีแหล่งน้ำเพียงพอทั้ง 2 ระบบ และอาจใช้ประกอบกัน โดยติดท่อแฝดแยก

          8. เพื่อให้รู้อันตรายล่วงหน้า ควรติดระบบสัญญาณเตือนภัย ซึ่งติดต่อกับหน่วยบรรเทาสาธารณภัยกลางได้สะดวก รวดเร็ว

          9. มีทางหนีไฟพอเพียง ป้องกันไฟได้ผล และส่วนช่องขึ้นลงตลอดความสูงอาคารต้องมีทางออกถนนได้โดยตรง

          จะเห็นได้ว่าหัวข้อต่างๆ ข้างบนนั้น บางข้ออาจเป็นปัญหาทางแง่เศรษฐกิจในการออกแบบเป็นปัญหาต่อรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
หรือปัญหาแก่การใช้สอยอาคาร แต่เพื่อการลดอันตรายจากอัคคีภัย อย่างน้อยหัวข้อต่างๆ เหล่านี้ ต่างก็มีความสำคัญในการพิจารณา
ออกแบบอาคาร และแบบที่สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ควรได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานดับเพลิงด้วย บริษัทประกันภัยคงกำหนดอัตรา
ค่าประกันเพลิงได้ไม่แพงเกินไปด้วย

          เนื่องจากประเทศเราควรมี เทศบัญญัติป้องกันอัคคีภัย เพื่อใช้บังคับการก่อสร้างอาคารในเขตเทศบาลที่ได้มาตรฐานในอนาคต
จึงควรศึกษาเรื่องต่างๆ ที่สำคัญที่เทศบัญญัติต่างประเทศได้มีใช้บังคับ เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาด้วย

Visitors: 61,537